เช็คเด้งแต่ไม่มีความผิด

 

# ออกเช็คเด้งแล้วไม่มีความผิดอย่างนี้ก็มีด้วย

เช็ค คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย  สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง  หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน  ซึ่งในการประกอบธุรกิจการชำระหนี้ด้วยเช็คเป็นวิธีการที่สะดวกและปลอดภัย  แต่การออกเช็คนั้นจะต้องออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วยจึงจะได้รับชำระหนี้  

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้

(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

 
 

เรื่องจริงอิงฎีกา/  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2557

.........การกระทำใดจะมีมูลความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะต้องพิจารณาได้ความว่าเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่ก่อนและหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมาย เช่น การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และได้มีการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวนั้น  จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปโดยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ  ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว  และได้ทำบันทึกการรับสภาพหนี้ว่าจำเลยที่ 1  โดยจำเลยที่ 2  กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมดังกล่าวจากโจทก์  ซึ่งโจทก์มีเฉพาะบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าวฉบับเดียวที่อ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไป  บันทึกการรับสภาพหนี้ได้กระทำขึ้นภายหลังที่ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับแล้วแม้จะได้กระทำในวันเดียวกันก็ตามก็ถือได้ว่าขณะที่จำเลยที่ 1  โดยจำเลยที่ 2  กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนออกเช็คและส่งมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์นั้น  แม้จะรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์อยู่จริง  แต่หนี้นั้นก็ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย  การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง

Visitors: 59,835