หน้าแรก > คำพิพากษาศาลฎีกาน่าดู >
เรื่องจริงอิงฎีกา/ลักทรัพย์พระพุทธรูป
ลักทรัพย์พระพุทธรูปในวัดไม่มีความผิด
# เอาพระพุทธรูปในวัดไป ไม่มีความผิดลักทรัพย์เชื่อไหม
พระพุทธรูปเป็นปูชนีวัตถุที่ประชาชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาให้การเคารพสักการะบูชา บุคคลใดเอาไปหรือลักไปจากวัดที่มีผู้เคารพบูชาแล้ว ย่อมได้รับเสียงก่นด่าและสาปแช่งต่างๆ นาๆ และมีความผิดตามกฎหมาย แต่พระพุทธรูปที่ถูกปล่อยทิ้งร้างไม่ได้จัดวางไว้ในที่เหมาะสมใครเอาไปก็ไม่เป็นความผิดลักทรัพย์เชื่อไหม
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(9) ในสถานที่บูชาสาธารณะ
มาตรา 335 ทวิ ผู้ใดลักทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูปหรือวัตถุในทางศาสนา ถ้าทรัพย์นั้นเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน หรือเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป หรือวัตถุดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ได้กระทำในวัด สำนักสงฆ์ สถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา โบราณสถานอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน สถานที่ราชการหรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
เรื่องจริงอิงฎีกา/ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9193/2552
............แม้ทรัพย์ที่จำเลยกับพวกร่วมกันลักจะเป็นพระพุทธรูปและอยู่ในวัดผู้เสียหาย แต่ได้ความว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเก็บไว้ในศาลาบำเพ็ญกุศลหลังเก่าซึ่งเห็นได้ชัดตามภาพถ่ายว่าอยู่ในสภาพที่ถูกปล่อยทิ้งร้างและรกรุงรัง มิได้จัดวางไว้ในที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนไปสักการะบูชาแต่ประการใด รวมทั้งเครื่องบูชาใดๆ ไม่มีปรากฏให้เห็น จึงยังถือไม่ได้ว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก ดังนี้ แม้จำเลยจะได้ร่วมกับพวกลักพระพุทธรูปดังกล่าวภายในวัดผู้เสียหาย ก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ทั้งศาลาบำเพ็ญกุศลมีไว้เพื่อใช้จัดงานพิธีศพจึงมิใช่สถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. 335 (9) การกระทำของจำเลยจึงคงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป และโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมตาม ป.อ. 335(7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ , 83 เท่านั้น