การประกันตัวทำอย่างไร

 

เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการประตัว

 

               เมื่อบุคคลใดผิดพลาดได้กระทำความผิดไปโดยที่การกระทำนั้นจะโดยมีเจตนา   ไม่เจตนา   หรือกระทำโดยประมาทหรือบันดาลโทสะหรือกระทำด้วยความจำเป็นหรือป้องกันตัว    เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งกฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดแล้ว   บุคคลที่กระทำความผิดนั้นย่อมตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาหรือจำเลย    ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560  บัญญัติไว้ว่า   ในคดีอาญา  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด  จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้     ดังนั้น การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้หลบหนีเท่านั้น

           เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ได้บัญญัติรองรับสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้กระทำความผิดไว้แล้ว   บุคคลนั้นๆย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองและการประกันจากหน่วยงานของรัฐโดยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) เมื่อได้กระทำความผิด

 

                การปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) หมายถึงอะไร

               การปล่อยตัวชั่วคราวหรือการประกันตัว  หมายถึง  การยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตต่อศาลเพื่อให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยให้พ้นจากการควบคุม  หรือคุมขังของเจ้าพนักงานหรือศาลตามที่มีกฎหมายกำหนดเวลาไว้  เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมหรือคุมขังนานเกินกว่าความจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีของศาล

 

            เหตุที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะได้รับประกันตัวหรือไม่

            ในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวนอกจากผู้ต้องหาหรือจำเลยจะมีสิทธิตามกฎหมายแล้ว      การที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตได้    ศาลจะใช้หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวได้จะต้องพิจารณาเหตุต่างๆ ดังนี้

            (1) ความหนักเบาแห่งข้อหา

            (2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด

            (3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร

            (4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด

            (5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

            (6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่

            (7) มีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน  พนักงานอัยการ  โจทก์หรือผู้เสียหายหรือไม่

            (8) ข้อเท็จจริงตามรายงานหรือความเห็นของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการนั้น

 

            ผู้ที่มิสิทธิยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกันตัวเป็นใคร

            (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลย

            (2) ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง  เช่น  พ่อ  แม่  ลูก  สามี ภริยา  ญาติพี่น้อง  ผู้บังคับบัญชา  นายจ้าง

 

            ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกันตัวที่ไหน

            (1) ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมและยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล  ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ

            (2) ผู้ต้องหาที่ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว  ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น  เช่น ศาลอาญา  ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี  ศาลจังหวัด  ศาลแขวง  ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือสาขาหรือจังหวัด   ศาลแรงงานกลางหรือสาขาหรือภาค   ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง   ศาลล้มละลาย  ศาลภาษีอากรกลาง  เป็นต้น

            (3) เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว  ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น

            (4) กรณีคดีมีการส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว  จะยื่นต่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้

 

            การยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกัน  ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง

            (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและ/หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้ขอประกัน  (ถ้ามี)

            (2) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอประกัน

            (3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ต้องหาหรือจำเลย

            (4) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ต้องหาหรือจำเลย

            (5) กรณีผู้ขอประกันเป็นคู่สมรสจะต้องมีเอกสารเพิ่มเติม  เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและ/หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้ขอประกัน  (ถ้ามี)     สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส   สำเนาใบสำคัญการสมรส  สำเนาหนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส

            (6) กรณีชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลักทรัพย์มีเอกสารเพิ่มเติม  เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุล    ใบสำคัญการสมรส 

 

 

             หลักทรัพย์ที่ใช้ในการขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกันมีอะไรบ้าง

             (1) เงินสด

             (2) สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร

             (3) พันธบัตรรัฐบาล  สลากออมสิน  บัตรหรือสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว  ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว  หรือแคชเชียร์เช็ค  หรือเช็คที่ธนาคารรับรองแล้ว

             (4) กรมธรรม์ประกันอิสรภาพ

             (5) ตำแหน่งข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ข้าราชการการเมือง

              

***เป็นคดีอาญา  รีบปรึกษา  เราพาประกันตัว  Tel. 093-131-5663 

 

 

 

Visitors: 59,001